Hansaton Hearing Aids
ติดต่อเรา

เรียนรู้เกี่ยวกับการสูญเสียการได้ยิน

การสูญเสียการได้ยินจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ

การสูญเสียการได้ยินจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในขณะที่สมองเริ่มคุ้นเคยกับการไม่ได้ยินความถี่หรือเสียงบางชนิด ผู้เชี่ยวชาญเรียกอาการนี้ว่า “ความบกพร่องทางการได้ยิน” โดยปกติแล้ว ผู้ที่มีอาการนี้จะไม่สังเกตเห็นความผิดปกติ แต่หากสมองได้รับการกระตุ้นจากความถี่ที่สูญเสียการได้ยินด้วยเครื่องช่วยฟังช้าเกินไป จะต้องใช้เวลานานขึ้นถึงจะสามารถรับรู้และเข้าใจความถี่นั้นที่ระดับเสียงปกติได้อีกครั้ง 



การสูญเสียการได้ยินนั้นไม่เหมือนกันเสมอไป การสูญเสียการได้ยินมีหลายระดับตั้งแต่ “ได้ยินในระดับดี” และ “แทบไม่ได้ยินเลย”  ผู้เชี่ยวชาญด้านการการได้ยินมักแบ่งระดับของการสูญเสียการได้ยินโดยใช้คำว่า เล็กน้อย ปานกลาง รุนแรง และหนวก





การวัดระดับการสูญเสียการได้ยิน
 

การพูดของเราเกิดจากโทนและเสียงที่ระดับความดังต่างๆ ในช่วงความถี่ที่แตกต่างกัน “Speech banana” คือภาพที่แสดงให้เห็นเสียงพยัญชนะ สระ และเสียงอื่นๆบนผลตรวจการได้ยิน

ผู้เชี่ยวชาญจะใช้การวัดระดับการได้ยินนี้เพื่อคำนวณการสูญเสียการได้ยินของแต่ละบุคคลและเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะสม


ผู้ที่มีการได้ยินปกติจะสามารถได้ยินและเข้าใจเสียงพูดทั้งหมด แต่สำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยินนั้นจะต่างออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการสูญเสียการได้ยิน พวกเขาอาจไม่ได้ยินเสียงในความถี่สูง (เช่น เสียงนกร้องหรือเสียงกรอบแกรบของใบไม้) หรืออาจคุยโทรศัพท์หรือสนทนาด้วยความยากลำบาก
 



การได้ยินของคุณเป็นสิ่งสำคัญ 

การสูญเสียการได้ยินทำให้เกิดความเสี่ยงด้านสุขภาพ และอุปสรรคในการดำรงชีวิตประจำวันตามมามากมาย ต่างจากเมื่อคุณได้ยินปกติ

ไม่ว่าจะเป็นความกังวลว่าคุณอาจจะพลาดข้อมูลที่สำคัญ หรือรู้สึกไม่ดีเมื่อไม่สามารถได้ยินคนในครอบครัวพูดคุยกัน การสูญเสียการได้ยินนั้นสามารถทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกที่ส่งผลเสียได้มากมาย 

การสูญเสียการได้ยินถูกระบุว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อความโดดเดี่ยวทางสังคม ภาวะสมองฝ่อ และการเกิดสมองเสื่อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุ1,2

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการสูญเสียการได้ยินที่ไม่ได้รับการรักษา ส่งผลให้มีความเป็นไปได้มากขึ้นในการล้มและเกิดการบาดเจ็บที่เกี่ยวข้อง3  

การใช้ชีวิตกับการสูญเสียการได้ยินโดยไม่มีเครื่องช่วยฟังทำให้เกิด อุปสรรค ต่อสิ่งที่เคยเป็นกิจกรรมง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน 

1.  Croll, Pauline H et al. “Hearing loss and microstructural integrity of the brain in a dementia-free older population.” Alzheimer's & dementia : the journal of the Alzheimer's Association vol. 16,11 (2020): 1515-1523. doi:10.1002/alz.12151
2.  Deal, Jennifer A et al. “Hearing Impairment and Incident Dementia and Cognitive Decline in Older Adults: The Health ABC Study.” The journals of gerontology. Series A, Biological sciences and medical sciences vol. 72,5 (2017): 703-709. doi:10.1093/gerona/glw069
3.  Deal, Jennifer A et al. “Incident Hearing Loss and Comorbidity: A Longitudinal Administrative Claims Study.” JAMA otolaryngology-- head & neck surgery vol. 145,1 (2019): 36-43. doi:10.1001/jamaoto.2018.2876

บุคคลรอบตัวมักเป็นคนกลุ่มแรกที่สังเกตเห็นว่าคนใกล้ชิดไม่สามารถได้ยินเสียงเหมือนเมื่อก่อน สมาชิกครอบครัวและเพื่อนฝูงสังเกตเห็นว่าคุณต้องขอให้ผู้อื่นพูดซ้ำบ่อยขึ้น พูดให้ดังกว่าปกติเมื่อโทรศัพท์ หรือเปิดโทรทัศน์เสียงดังจนเพื่อนบ้านได้ยิน



ขั้นตอนเพื่อการได้ยินที่ดีขึ้น

การทดสอบการได้ยินคือขั้นตอนแรกบนหนทางสู่การเข้าใจความหมายของคำพูดที่ดีขึ้น การทดสอบเหล่านี้จะให้ข้อมูลว่าคุณได้ยินได้ดีในระดับใดและความต้องการด้านการได้ยินของคุณเป็นอย่างไร ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพการได้ยินของคุณจะช่วยระบุความต้องการด้านการได้ยินของคุณตามผลที่ได้จากการวัดระดับการได้ยิน การทดสอบเหล่านี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ

เมื่อถึงเวลาเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะกับคุณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินจะสามารถให้ความช่วยเหลือแก่คุณได้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ผู้เชี่ยวชาญไม่เพียงแค่นำผลการทดสอบการได้ยินมาพิจารณาเท่านั้น แต่ยังคำนึงถึงความชอบส่วนตัวและสไตล์การใช้ชีวิตของคุณด้วย พวกเขาจะต้องการทราบว่าชีวิตประจำวันของคุณเป็นอย่างไร คุณใช้เวลาอยู่กับธรรมชาตินอกบ้านเยอะหรือไม่ คุณเล่นกีฬาหรือไม่? คุณชอบฟังเพลงหรือไม่? คุณเล่นดนตรีหรือไม่? คุณไปดูภาพยนตร์หรือโรงละครบ่อยหรือไม่? คุณท่องเที่ยวบ่อยหรือไม่? การค้นหาว่าจะต้องใช้เครื่องช่วยฟังในสถานการณ์ใด เป็นขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการเลือกเครื่องช่วยฟัง

หลังจากพูดคุยกันแล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินของคุณจะใช้คอมพิวเตอร์ในการตั้งโปรแกรมเครื่องช่วยฟังที่คุณเลือก โดยพิจารณาจากความต้องการและผลการทดสอบของคุณโดยเฉพาะ จากนั้นคุณก็จะพร้อมสำหรับการสวมใส่เครื่องช่วยฟังในชีวิตจริง หากจำเป็น คุณสามารถขอให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินของคุณปรับเครื่องช่วยฟังได้ในภายหลัง และมีเครื่องช่วยฟังหลายรุ่นที่คุณสามารถปรับแต่งให้เหมาะกับความต้องการของคุณเองผ่านสมาร์ทโฟน  

 

 

แบบทดสอบการได้ยินออนไลน์

ทดสอบการได้ยินของคุณจากบ้านด้วยแบบทดสอบการได้ยินออนไลน์ใหม่ของเรา

เสียงดังในหู

มีเสียงดังในหูใช่หรือไม่ เรียนรู้เกี่ยวกับอาการ สาเหตุ และโซลูชันสำหรับการรักษาเสียงดังในหู

เครื่องช่วยฟัง

ดูเครื่องช่วยฟังรุ่นล่าสุดของเราเพื่อดูว่ารุ่นใดเหมาะกับคุณ