การดูแลรักษาเครื่องช่วยฟังของคุณคือการใช้เวลาอย่างคุ้มค่า
เราใส่เครื่องช่วยฟังไว้ในช่องหูทุกๆ วัน เครื่องจึงสัมผัสกับความชื้นและขี้หูอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นสภาพที่ไม่เหมาะสมนักสำหรับอุปกรณ์เทคโนโลยีใดก็ตาม คุณจึงจำเป็นต้องดูแลรักษาเครื่องช่วยฟังของตนเองและทำความสะอาดเป็นประจำ เพื่อให้เครื่องคงสภาพดีและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเสมอ
การปกป้องเครื่องช่วยฟังของคุณ
- การดูแลรักษาเครื่องช่วยฟังของคุณอย่างสม่ำเสมอเป็นกิจวัตรจะช่วยให้เครื่องมีประสิทธิภาพดีเยี่ยมและอายุการใช้งานยาวนาน
- เปิดฝาแบตเตอรี่ทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งาน
- ถอดเครื่องช่วยฟังออกก่อนทุกครั้งที่ใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม เนื่องจากเครื่องช่วยฟังอาจเกิดการอุดตันและทำงานขัดข้อง
- ห้ามสวมใส่เครื่องช่วยฟังขณะอาบน้ำในอ่างหรือใช้ฝักบัว หรือห้ามแช่เครื่องในน้ำ
- หากเครื่องช่วยฟังเปียกชื้น ห้ามพยายามอบแห้งในเตาอบหรือเตาไมโครเวฟ ห้ามปรับเปลี่ยนส่วนการควบคุมใดๆ
o แบตเตอรี่ทั่วไป: เปิดฝาช่องแบตเตอรี่ทันที นำแบตเตอรี่ออก แล้ววางเครื่องช่วยฟังทิ้งไว้ให้แห้งเองเป็นเวลา 24 ชั่วโมง
o แบตเตอรี่แบบชาร์จได้: ปิดเครื่องช่วยฟังแล้ววางเครื่องทิ้งไว้ให้แห้งเองเป็นเวลา 24 ชั่วโมง
- ปกป้องเครื่องช่วยฟังให้ห่างจากความร้อนสูงเกินไป (เช่น เครื่องเป่าผม ช่องเก็บของหน้ารถหรือแผงหน้าปัดรถ)
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้บิดหรือบีบสายของเครื่องช่วยฟังขณะวางเครื่องไว้ในเคส
- การใช้เครื่องลดความชื้น เช่น ชุดอุปกรณ์ Clean Dry เป็นประจำสามารถช่วยป้องกันการกัดกร่อนและยืดอายุการใช้งานให้เครื่องช่วยฟังได้ ถอดแบตเตอรี่ออกก่อนใช้เครื่องลดความชื้น
- ห้ามทำเครื่องช่วยฟังตกหล่นหรือกระแทกกับพื้นผิวที่มีความแข็ง
การทำความสะอาดเครื่องช่วยฟังของคุณ
การทำความสะอาดโดยทั่วไปสำหรับเครื่องช่วยฟังแต่ละรูปแบบจะคล้ายกัน การทำความสะอาดแบบละเอียดนั้นจะแตกต่างกันไปตามรูปแบบของเครื่องช่วยฟังที่คุณมี ศึกษาคู่มือการใช้งานของคุณเพื่อให้ทราบถึงรูปแบบของเครื่องช่วยฟังที่คุณมี และขั้นตอนการทำความสะอาดที่แนะนำ
ใช้ผ้านุ่มเช็ดทำความสะอาดเครื่องช่วยฟังหลังการใช้งานในแต่ละวัน การทำความสะอาดช่องไมโครโฟนเป็นประจำด้วยแปรงทำความสะอาดที่ให้มาด้วยจะทำให้เครื่องช่วยฟังของคุณคงคุณภาพเสียงที่ดีเสมอ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลการได้ยินสามารถสาธิตวิธีให้คุณดูได้
แบตเตอรี่ทั่วไป: ใส่เครื่องช่วยฟังไว้ในเคสตลอดคืนโดยเปิดฝาช่องแบตเตอรี่ทิ้วไว้เพื่อให้ความชื้นระเหยออกไป
แบตเตอรี่แบบชาร์จได้: ใส่เครื่องช่วยฟังไว้ในเครื่องชาร์จตลอดคืน
- ขี้หูเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วไป การดูแลให้เครื่องช่วยฟังของคุณปลอดขี้หูนั้นเป็นขั้นตอนสำคัญในการบำรุงรักษา และทำความสะอาดประจำวันของคุณ
- ห้ามใช้แอลกอฮอลล์เช็ดทำความสะอาดเครื่องช่วยฟัง พิมพ์หู หรือจุกยางโดยเด็ดขาด
- ห้ามใช้เครื่องมือมีคมเพื่อนำขี้หูออก การใช้ของใช้ในบ้านกับเครื่องช่วยฟังหรือพิมพ์หูอาจทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงได้
สำหรับเครื่องช่วยฟังแบบมีลำโพงในช่องหู (RIC):
การทำความสะอาดพิมพ์หูและจุกยางของคุณ
ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดจุกยางและพิมพ์หูด้านนอกเป็นประจำทุกวัน
หลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำสัมผัสรอบๆ หรือเข้าไปในตัวลำโพงและพิมพ์หู
ห้ามล้างน้ำหรือแช่สายไฟ ลำโพง จุกยาง หรือพิมพ์หูในน้ำโดยเด็ดขาด เนื่องจากหยดน้ำอาจอุดกั้นเสียงหรือสร้างความเสียหายให้กับชิ้นส่วนไฟฟ้าของเครื่องช่วยฟัง
ควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการการได้ยินเปลี่ยนจุกยางทุกๆ 3 ถึง 6 เดือน หรือเมื่อจุกมีสภาพฝืดแข็ง เปราะ หรือเปลี่ยนสี
หากพิมพ์หูของคุณจำเป็นต้องได้รับการทำความสะอาดเพิ่มเติม แสดงว่าตัวกรองป้องกันขี้หูของลำโพงอาจเกิดการอุดตันและต้องเปลี่ยนใหม่ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการการได้ยินของคุณ
สำหรับเครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังใบหู (BTE):
การทำความสะอาดพิมพ์หูและหูฟังของคุณ
คุณควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลการได้ยินเปลี่ยนท่อนำเสียงทุกๆ 3 ถึง 6 เดือนหรือเมื่อท่อมีสภาพฝืดแข็ง เปราะ หรือเปลี่ยนสี
ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดพิมพ์หูและด้านนอกของที่เกี่ยวหูหลังจากการใช้งานในแต่ละวัน หลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำสัมผัสรอบๆ หรือเข้าไปในตัวเครื่องช่วยฟัง
หากพิมพ์หูเกิดการอุดตัน ให้ทำความสะอาดที่เปิดด้วยไม้แคะหูหรือลวดล้าง
หากคุณต้องใช้ยาหยอดหูตามที่แพทย์สั่ง ควรเช็ดทำความสะอาดความชื้นใดๆ ที่อาจเข้าไปในพิมพ์หูหรือท่อนำเสียงเพื่อป้องกันการอุดตัน
หากพิมพ์หูของคุณจำเป็นต้องได้รับการทำความสะอาดเพิ่มเติม
- ให้ถอดท่อพลาสติกออกจากที่เกี่ยวหูของเครื่องช่วยฟังโดยจับเครื่องไว้ในมือข้างหนึ่งแล้วค่อยๆ ดึงท่อออกจากที่เกี่ยวหูอย่างนุ่มนวล
- ล้างพิมพ์หูและท่อนำเสียงในน้ำอุ่นผสมสบู่อ่อนๆ
- ล้างออกด้วยน้ำเย็นและทิ้งไว้ให้แห้งตลอดคืน
- ตรวจดูให้แน่ใจว่าท่อนำเสียงของพิมพ์หูแห้งสนิท ประกอบที่เกี่ยวหูบนเครื่องช่วยฟังตามเดิมโดยเลื่อนท่อกลับเข้าบนที่เกี่ยวหู การใช้ที่เป่าลมสำหรับเครื่องช่วยฟังสามารถช่วยขจัดความชื้น/เศษสิ่งแปลกปลอมออกจากท่อนำเสียงได้ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการการได้ยินเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
การทำความสะอาดท่อนำเสียงและจุกยาง
คุณควรเปลี่ยนท่อนำเสียงและจุกยางทุกๆ 3 ถึง 6 เดือนหรือเมื่อท่อและจุกมีสภาพฝืดแข็ง เปราะ หรือเปลี่ยนสี
ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดด้านนอกของจุกยางหลังจากการใช้งานในแต่ละวัน หลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำสัมผัสรอบๆ หรือเข้าไปในตัวเครื่องช่วยฟัง
นอกจากนี้ คุณควรทำความสะอาดท่อนำเสียงเป็นระยะด้วยเข็มทำความสะอาดที่ให้มาด้วย เมื่อคุณเริ่มสังเกตเห็นเศษสิ่งแปลกปลอมด้านในและรอบๆ ท่อ
- จับท่อนำเสียงไว้ในมือข้างหนึ่งและจับเครื่องช่วยฟังไว้ในมืออีกข้าง
- ค่อยๆ หมุนเครื่องช่วยฟังจนหลุดออกจากท่อนำเสียง
- ใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดด้านนอกของท่อนำเสียงและจุกยาง
- ถอดจุกยางออกจากท่อนำเสียงโดยค่อยๆ ดึงออกอย่างนุ่มนวลก่อนทำความสะอาดท่อ
- ใช้ชุดทำความสะอาดสีดำที่ให้มาด้วยในชุดอุปกรณ์ โดยค่อยๆ สอดหมุดทำความสะอาดเข้าไปในท่อนำเสียงฝั่งที่ติดเข้ากับเครื่องช่วยฟังแล้วดันหมุดเข้าไปจนสุดท่อ
หมายเหตุ-: ห้ามล้างน้ำหรือแช่ท่อนำเสียงและจุกยางในน้ำโดยเด็ดขาดเนื่องจากหยดน้ำอาจติดอยู่ในท่อ อุดกั้นเสียง หรือสร้างความเสียหายให้กับชิ้นส่วนไฟฟ้าของเครื่องช่วยฟัง
6. เมื่อทำความสะอาดท่อนำเสียงเรียบร้อยแล้ว ให้ติดกลับเข้าที่เดิมโดยค่อยๆ หมุนเครื่องช่วยฟังลงบนท่อนำเสียง
7. ติดจุกยางเข้ากับท่อนำเสียงตามเดิมโดยค่อยๆ ดันกลับเข้าบนเกลียวที่ปลายท่อ คุณจะรู้สึกว่าจุกยางคลิกเข้าที่บนแนวสันของท่อนำเสียงและจะไม่สามารถดันต่อไปกว่านั้นได้
สำหรับเครื่องช่วยฟังแบบในหู (ITE):
การทำความสะอาดเครื่องช่วยฟังของคุณ
ใช้ผ้านุ่มเช็ดทำความสะอาดเครื่องช่วยฟังหลังการใช้งานในแต่ละวัน การทำความสะอาดช่องไมโครโฟนเป็นประจำด้วยแปรงทำความสะอาดที่ให้มาด้วยจะทำให้เครื่องช่วยฟังของคุณคงคุณภาพเสียงที่ดีเสมอ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินสามารถสาธิตวิธีให้คุณดูได้
ใส่เครื่องช่วยฟังไว้ในเคสตลอดคืนโดยเปิดฝาช่องแบตเตอรี่ทิ้วไว้เพื่อให้ความชื้นระเหยออกไป
- ขี้หูเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วไป การดูแลให้เครื่องช่วยฟังของคุณปลอดขี้หูนั้นเป็นขั้นตอนสำคัญในการบำรุงรักษาและทำความสะอาดประจำวันของคุณ
- ใช้แปรงที่ให้มากับเครื่องช่วยฟังของคุณในการเช็ดทำความสะอาดขี้หูออกจากเครื่องเป็นประจำทุกวัน
- ห้ามใช้แอลกอฮอลล์เช็ดทำความสะอาดเครื่องช่วยฟังโดยเด็ดขาด
- ห้ามใช้เครื่องมือมีคมเพื่อนำขี้หูออก การนำของใช้ในบ้านกับเครื่องช่วยฟังอาจทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงได้
- โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพการได้ยินของคุณเกี่ยวกับการนัดหมายเพื่อนำขี้หูออกจากเครื่องช่วยฟังของคุณเป็นประจำ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คู่มือ HADEO คลีนแอนด์แคร์
- Filename
- HN_Brochure_HADEO_Product_210x297_EN_V1.00_041-6088-02_screen.pdf
- Size
- 1 MB
- Format
- application/pdf
แบบทดสอบการได้ยินออนไลน์
ทดสอบการได้ยินของคุณจากบ้านด้วยแบบทดสอบการได้ยินออนไลน์ใหม่ของเรา
แบบทดสอบการได้ยินออนไลน์
ทดสอบการได้ยินของคุณจากบ้านด้วยแบบทดสอบการได้ยินออนไลน์ใหม่ของเรา
เรียนรู้เกี่ยวกับการได้ยิน
หูของเราเป็นอวัยวะรับเสียงที่มีความซับซ้อน ความสามารถในการได้ยินที่ดีช่วยให้สมองของคุณถูกกระตุ้นอยู่เสมอ